บ้านสไตล์นอร์ดิก

บ้านสไตล์นอร์ดิก

บ้านสไตล์นอร์ดิก

บ้านสไตล์นอร์ดิก

บ้านสไตล์นอร์ดิก สเปซพิเศษเพื่อความเป็นส่วนตัว บ้านสไตล์นอร์ดิกดีไซน์และฟังก์ชันของบ้านนั้นมีความสำคัญก็จริง แต่ก็มีอีกสิ่งหนึ่งที่เจ้าของบ้านไม่ควรมองข้าม นั่นคือ การจัดวางระดับความเป็นส่วนตัวให้กับบ้าน เพื่อให้การอยู่อาศัยตรงกับวิถีชีวิตมากที่สุด บางบ้านจะโชว์ในส่วนที่เปิดเผยได้ poolvilla

สไตล์บ้านแบบไหนที่กำลังอินเทรนด์สุดๆ ในตอนนี้ ??

นอร์ดิกสไตล์’ คือคำตอบแรกที่เพื่อนๆ นึกถึงใช่มั้ยคะ เพราะไม่ว่าจะเป็นบ้านพักอาศัยขนาดพอดี หรือแม้กระทั่งโครงการอสังหาฯ ขนาดใหญ่ต่างก็นิยมออกแบบสไตล์นอร์ดิกกันทั้งนั้น

จริงๆ แล้วสไตล์นอร์ดิกเพิ่งนิยมในประเทศไทยเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา บางมุมของสไตล์นี้ก็ดูโมเดิร์นจ๋า บางทีก็ดูมินิมอลมีความเรียบง่ายแฝงอยู่ หลายคนอาจจะไม่มั่นใจว่าสไตล์นอร์ดิกเป็นอย่างไรกันแน่ มีข้อดีและได้รับแรงบันดาลใจมากจากไหน เรารวบรวมข้อมูลและหาคำตอบมาให้เพื่อนๆ แล้วค่ะ

นอร์ดิกเป็นสไตล์บ้าน แถบคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย โดยประเทศที่ อยู่ในกลุ่มนอร์ดิก ได้แก่ สวีเดน, ฟินแลนด์, ไอซ์แลนด์, นอร์เวย์ เดนมาร์ก และเกาะกรีนแลนด์ บ้านแนวนอร์ดิกจะมีเอกลักษณ์ในเรื่องของความอบอุ่น เรียบง่าย เน้นความโปร่งโล่ง และมีจุดเด่นก็คือรูปทรงจั่วคล้ายกับโรงนาในยุโรป

เน้นความเป็นธรรมชาติของสีและวัสดุอุปกรณ์ รวมไปถึงประโยชน์ ใช้สอยมากกว่าความสวยงาม การออกแบบบ้านสไตล์นอร์ดิกจึงมักมีด้านที่เป็นกระจกช่วย เพิ่มแสงสว่างและความอบอุ่น ปัจจุบันบ้านสไตล์นอร์ดิกได้มีการประยุกต์และผสมผสาน กับ ทั้งสไตล์มินิมอล สไตล์โมเดิร์น สไตล์ลอฟต์ปูนเปลือย หรือจะไปแนวสไตล์หรูหราก็เป็นที่นิยมอย่างมาก

นอร์ดิกคืออะไร ?

แบบบ้านนอร์ดิก

แต่บางบ้านก็มี มุมความเป็นส่วนตัวสูง ไม่ค่อยอยากโชว์ พื้นที่ข้างในก็จะต้อง วางแผนว่า หากไม่เปิดจุดนี้มีจุดไหนที่เปิดได้เพื่อไม่ให้บ้านดูอึดอัดและขาดการติดต่อ อย่างเช่นบ้านนี้ หากมองจากภาย นอกจะเห็นเพียง เส้นสายบ้านหลังคาจั่วสูงสไตล์นอร์ดิก ไม่ได้ใส่ลูกเล่น อะไรมากมาย แต่เรื่องราวระหว่างการออกแบบ ทั้งความเป็นส่วนตัว การใส่ความแตกต่างอย่างง่าย ๆ เส้นสาย และสี

บ้านสไตล์นอร์ดิก

ก็สร้างสเปซนี้ให้มีความพิเศษขึ้นมาได้เช่นกันบ้านของครอบครัวนี้ตั้งอยู่ระหว่างถนนที่พลุกพล่านและสวนสาธารณะที่ติดกับแม่น้ำไวกาโต ประเทศนิวซีแลนด์ จากหน้าถนนด้านทิศตะวันออก พื้นที่จะลาดลงไปทางสวนทิศตะวันตก เจ้าของบ้านที่ค่อนข้างรักความเป็นส่วนตัวจึงออกแบบบ้านให้ดูปิดจากสายตาเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง ในลักษณะที่เป็นอาคารหลังคาจั่วสไตล์นอร์ดิก โชว์ความตัดต่างของสีผนังอิฐสีขาวในส่วนโรงจอดรถ

และผนังไม้สีน้ำตาลในโซนใช้งานประจำวัน ในขณะเดียวกันก็เปิดกว้างต่อมุมมองและปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านในส่วนอื่นแทนจากสวนสาธารณะมองเข้ามาที่ด้านข้างบ้าน จะเผยให้เห็นลักษณะบ้านหลังคาจั่ว 3 ส่วนที่ต่างสี ต่างความสูง และวัสดุ แต่เชื่อมต่อกันเป็นแถวยาว

ส่วนที่สะดุดตาที่สุดอยู่ ที่กระจกบานใหญ่มีกรอบ สี่เหลี่ยมเหล็กเป็นซับวงกบ ยื่นออกมาให้เส้นสายตาชัดเจนทันสมัย และพื้นที่นั่งเล่นกลางแจ้งที่มีหลังคาคลุมเปิดพื้นที่ใช้สอยออกสู่พื้นที่สีเขียวในบ้านให้ต่อเนื่องลื่นไหล ด้านนี้จึงดูเปิดออกมากกว่าอีกด้านแ ต่ยังคงรักษาระดับความเป็นส่วนตัว ของบ้านเอาไว้ในส่วนที่ต้องการ

บ้านสไตล์นอร์ดิก

ทางเข้าบ้านจะอยูตรงกลางระหว่างโรงรถกับบ้านส่วนหลัง มีกำแพงยื่นยาวหลบสายตาจากเพื่อนบ้านจากประตูทางเข้าจะนำมาสู่บ้านสองชั้น ที่จัดแบบ open plan และรายล้อมด้วยผนังกระจก บ้านจึงเต็มไปด้วยความโปร่งและสว่าง แต่กระจกที่เลือกใช้เป็นแบบติดฟิล์มที่มองทะลุได้ด้านเดียว

คนที่อยู่ภายนอกจะมองไม่เห็นภายในบ้าน จึงใช้ชีวิตได้แบบไม่ต้องกังวลสายตา ในส่วนชั้นล่างจะเป็น Public Zone พื้นที่ใช้งานสาธารณะที่มีความเคลื่อนไหวมากทั้งวัน ประกอบด้วย ห้องนั่งเล่น ครัว โต๊ะทานข้าว ที่วางเฟอร์นิเจอร์เรียงกันไปแบบไม่มีผนังกั้น สามารถเข้าถึงกันได้หมด ส่วนชั้นบนจะจัดวางห้องนอนซึ่งเป็น Private Zone ที่ไม่ต้องการความพลุกพล่าน เหมาะสำหรับพักผ่อนยามค่ำคืนบ้านจัดสรรภูเก็ต

มุมนั่งเล่นที่จัดให้อยู่ในระดับต่ำ ลงไปเป็นเหมือนหลุม ที่อบอุ่น ล้อมรอบด้วย ชุดโซฟาสีเขียว กำมะหยี่หนานุ่ม อีกด้านหนึ่งเป็นม้านั่งไม้บิลท์อินวางเบาะ ยาวเอาไว้เป็นเบย์วินโดว์ที่ ชวนให้มานั่งริมหน้าต่าง วิธีการแยกฟังก์ชัน แบบนี้ให้ความเป็นสัดเป็นส่วนโดยที่ไม่ต้องก่อผนังกั้นให้เสียพื้นที่ และยังทำให้บ้านดูน่าสนุกขึ้นด้วย

บ้านสไตล์นอร์ดิก

ประตูด้านข้างของครัว เป็นบานสไลด์กระจกเปิดออกเชื่อมต่อมายังพื้นที่นั่งเล่นบริเวณเฉลียงไม้มีหลังคาคลุม ระบบหลังคาเปิดและปิดได้ตามสภาพอากาศ ความต่อเนื่องลื่นไหลระหว่างภายในกับภายนอกนี้ทำให้สมาชิกในบ้านออกมาใช้งานส่วนกลางแจ้งมากขึ้น จากจุดนี้จะเห็นว่ามีวิวที่หันหน้าออกไปที่สวนสาธารณะของเมือง เป็นที่มาของการสร้างพื้นที่เปิดให้บ้านมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอกได้เต็มที่แปลนบ้านจัดสรร

 บ้านที่ดีควรมี Zoning ที่ชัดเจน เริ่มจากการ ตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่า ตรงส่วนใหนที่ต้องการความเคลื่อนไหวมาก เคลื่อนไหวน้อย ต้องการปิด เป็นส่วนตัว หรือเปิดเชื่อม ต่อปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ถนน เพื่อนบ้าน  ซึ่งส่วนใหญ่แบ่งลำดับการเข้าถึงไว้ 3 โซน คือ พื้นที่ใช้งานสาธารณะ (Public Zone)

บ้านสไตล์นอร์ดิก

ได้แก่ เฉลียง ระเบียง ชาน คอร์ทยาร์ด นอกตัวบ้าน บริเวณห้องรับแขก  ส่วนต่อมาจะเป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะ (Semi-public Zone) ที่อาจมีคนเดินผ่านไปมาใช้งานช่วง กลางวันเป็นประจำ อาทิ ห้องครัว ห้องรับประทานอาหาร รวมถึงห้องนั่งเล่นและระดับสุดท้ายเป็นโซนส่วนตัว (Private Zone) จะค่อนข้างสงบ ไม่พลุกพล่าน บุคคลภายนอกต้องได้รับอนุญาตก่อนเข้าถึง  เช่น ห้องนอน ห้องน้ำชั้นบน เป็นต้น

ข้อดีและลักษณะเด่นของบ้านสไตล์นอร์ดิก (Nordic house Style)

        การออกแบบตัวอาคาร ลักษณะเป็นทรงเรขาคณิต ที่ดูเรียบง่าย สบายตา ไม่มีรายละเอียดที่ซับซ้อนหรือเกินความจำเป็น เส้นสายที่สะอาด เป็นเส้นนำสายตาดึงดูดความสนใจ หลังคาทรงจั่วสูง ภายในโปร่งโล่ง สบาย การออกแบบที่คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย และโดดเด่นด้วยความสวยงาม เน้นช่องแสงจากกระจกในการรับแสงจากธรรมชาติ

        การยกจั่วสูงที่ทำให้หลังคาลาดชัน  ซึ่งความลาดเอียงในระดับที่มากกว่าปกติจะช่วยให้น้ำฝนไหลลงด้านล่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่เกิดน้ำขังบริเวณหลังคาจนเกิดการรั่วซึมได้ง่าย นอกจากนี้โครงหลังคาที่สูงยังช่วยให้ภายในตัวบ้านโปร่งโล่ง อากาศร้อนลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงได้ดี หากเสริมช่องระบายอากาศเพิ่มจะเอื้อให้อากาศถ่ายเทสะดวก ภายในบ้านอยู่เย็นสบายตลอดเวลา

        เน้นความเป็นธรรมชาติ “บรรยากาศ” ของความเรียบง่าย สงบ อบอุ่นและผ่อนคลายแก่ผู้อยู่อาศัย มักตกแต่งด้วยโทนสีของธรรมชาติ อาทิ การเลือกใช้โทนสีขาวเป็นสีพื้น, สีเอิร์ธโทนอย่างสีน้ำตาลของไม้ เป็นต้น การเลือกวัสดุตกแต่งผนังที่คุมโทน โดยปูแผ่นไม้ส่วนหนึ่ง หรืออีกด้านหนึ่งปูด้วยแผ่นหิน

ซึ่งวัสดุทั้งสองรูปแบบได้แรงบันดาลใจจากวัสดุตกแต่งบ้านตามสไตล์นอร์ดิก สะท้อนถึงอารมณ์อันสุขุม สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและรักในธรรมชาติที่เป็นคุณลักษณ์เด่น ตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่สะดวกสบายยิ่งขึ้น 

เสน่ห์ของสถาปัตยกรรมแบบนอร์ดิก (Nordic Architecture) ไม่ได้มีเพียงเท่านั้น แต่ยังมีองค์ประกอบที่ชวนหลงใหลอีกหลายประการ ที่ทำให้บ้านในรูปแบบนี้ได้รับความสนใจมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งก็รวมไปถึงโครงการ Norden Barn by Habita Estate โครงการบ้านบาร์นสไตล์นอร์ดิกในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ดึงเอากลิ่นอายสไตล์นอร์ดิกมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบให้กลมกลืนกับเมืองเหนือของไทยโดยนำเสนอ 3 เอกลักษณ์เด่น ดังนี้

1. เส้นสายเรขาคณิต

เอกลักษณ์ที่เห็นได้ชัดเจนของบ้านสไตล์นอร์ดิก คือ การออกแบบตัวอาคารลักษณะเป็นทรงเรขาคณิตที่ดูเรียบง่าย หมดจดสะอาดตา ไม่มีรายละเอียดที่ซับซ้อนหรือเกินความจำเป็น หลังคาจั่วทรงสูง ไม่มีชายคา เส้นสายที่ง่าย ๆ นี้ทำให้แบบบ้านสแกนดิเนเวียนถูกมองว่าเป็นฝาแฝดของบ้านสไตล์มินิมอล โครงการนี้สถาปนิกเน้นสร้างเส้นสายทางสถาปัตยกรรมจากพื้นขึ้นไปสู่จั่วหลังคาให้เป็นเส้นนำสายตาดึงดูดความสนใจ โดยการออกแบบผนังด้านนอกให้ต่างระดับกัน

2. หลังคาจั่วสูง ไร้ชายคา

ลักษณะเฉพาะของโครงหลังคาบ้านสไตล์ Modern Barn คือการยกจั่วสูงที่ทำให้หลังคาลาดชันเพื่อให้หิมะไม่คงค้างสร้างความชื้นบนหลังคา ในส่วนนี้สถาปนิกได้ออกแบบหลังคาให้ทำมุม 40 องศา ซึ่งความลาดเอียงในระดับที่มากกว่าปกติจะช่วยให้น้ำฝนไหลลงด้านล่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทำให้ไม่เกิดน้ำขังบริเวณหลังคาจนเกิดการรั่วซึมได้ง่าย นอกจากนี้โครงหลังคาที่สูงยังช่วยให้ภายในตัวบ้านโปร่งโล่ง อากาศร้อนลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงได้ดี หากเสริมช่องระบายอากาศเพิ่มจะเอื้อให้อากาศถ่ายเทสะดวก ภายในบ้านอยู่เย็นสบายตลอดเวลา

3. สีสันอิงธรรมชาติ

สไตล์นอร์ดิกมีจุดเริ่มต้นจากภูมิภาคเมืองหนาว นอกจากต้องการพื้นที่รับแสงภายในเพื่อลดความหนาวเย็นแล้ว ยังต้องการสร้าง “บรรยากาศ” ของความเรียบง่าย สงบ อบอุ่นและผ่อนคลายแก่ผู้อยู่อาศัย จึงมักตกแต่งด้วยโทนสีกลาง ๆ ที่เชื่อมโยงกับสีสันของธรรมชาติ อาทิ การใช้โทนสีขาวเป็นสีพื้น, สีโมโนโครมเทาไล่เฉด, สีเอิร์ธโทนอย่างสีน้ำตาลของไม้ เป็นต้น Nordern barn เลือกวัสดุผนังที่คุมโทนเช่นกัน โดยปูแผ่นไม้ส่วนหนึ่ง

อีกด้านหนึ่งปูด้วยแผ่นหิน ซึ่งวัสดุทั้งสองรูปแบบได้แรงบันดาลใจจากวัสดุตกแต่งบ้านตามสไตล์นอร์ดิก สะท้อนถึงอารมณ์อันสุขุม สอดคล้องกับวิถีชีวิตเรียบง่ายและรักในธรรมชาติที่เป็นคุณลักษณ์เด่นของชาวนอร์ดิกแบบดั้งเดิมได้เป็นอย่างดี

ทุกรายละเอียดของบ้านผ่านการคิดประยุกต์ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศบ้านเรา รวมถึงเป็นการปรับให้เหมาะสมกับวิถีความเป็นอยู่ของคนไทยได้อย่างลงตัวที่สุด แม้จะมีต้นแบบมาจากบ้านเขตหนาวก็ตาม โดยเฉพาะส่วนของหลังคาที่ปรับฟังก์ชันให้สอดคล้องกับบ้านเขตร้อนมากขึ้น