คํานวณดอกเบี้ยบ้าน วิธีการคำนวณดอกเบี้ยบ้าน กดปุ๊บๆ รู้ผลปั๊บๆ
คํานวณดอกเบี้ยบ้าน สำหรับผู้ ที่กำลังต้องการวาง แผนว่า อยากจะทำตารางผ่อนบ้าน ด้วยการประเมินความสามารถในการผ่อนบ้านของตัวเองอย่างแม่นยำที่สุด เพื่อดูว่าตัวเองมีกำลังเพียงพอต่อการผ่อนบ้านในฝันที่มีราคานับล้านบาทได้หรือไม่ แต่การจะใช้วิธีกดเครื่องคิดเลขเองก็ดูจะน่าปวดหัวเกินไป บ้านจัดสรร ดังนั้น ควรทดลองใช้ วิธี คำนวณดอกเบี้ยบ้าน และ คำนวณสินเชื่อบ้านแบบอัตโนมัติดีกว่า แค่กรอกตัวเลข กดคำนวณ ก็รู้ผลการคำนวณสินเชื่อบ้านทันที โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. จัดเตรียมข้อมูลสินเชื่อบ้าน
ก่อนใช้เครื่องมือคำนวณสินเชื่อบ้าน ผู้ที่สนใจจะผ่อนบ้านจะต้องมีข้อมูลที่จำเป็นต่อการคำนวณสินเชื่อบ้านเสียก่อน ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่สมมุติขึ้นหรือข้อมูลโดยประมาณจากความเป็นจริงก็ได้ โดยการคำนวณกู้บ้านจะต้องใช้ข้อมูลดังนี้ บทความทั่วไป เรื่องบ้าน
2. รายได้รวมต่อปี
รายได้รวมต่อปีหรือรายได้ทั้งปี หมายถึง รายได้ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน โบนัส ค่าตำแหน่ง และรายได้อื่น ๆ ที่พิสูจน์ได้ทางภาษี (มีหนังสือรับรองการหักภาษี VILLA FOR RENT ณ ที่จ่าย หรือ ทวิ 50) หรือพิสูจน์ได้ทางบัญชี (มีเงินหมุนเวียนในบัญชีอย่างสม่ำเสมอ) รายได้ทั้งหมดนี้ให้นับรวมเป็นรายได้รวมตลอดทั้งปี
3. วงเงินกู้
วงเงินกู้หรือจำนวนเงินที่ต้องการกู้ หมายถึง วงเงินที่ต้องการขอกู้จากธนาคารเพื่อซื้อบ้าน โดยปกติจะใช้ราคาบ้านที่จะซื้อเป็นวงเงินกู้ตั้งต้น แล้วหักด้วยเงินดาวน์ที่ผู้กู้จัดเตรียมไว้ (ถ้ามี)
4. ระยะเวลากู้
ระยะเวลากู้หรือระยะเวลาในการผ่อน หมายถึง ระยะเวลาที่ต้องการจะผ่อนบ้าน ซึ่งธนาคารจะอนุมัติสินเชื่อบ้านให้ผู้กู้ผ่อนนานสูงสุดถึง 30 ปี หรืออาจน้อยกว่านั้น โดยขึ้นอยู่กับผลรวมของระยะเวลากู้กับอายุของผู้กู้ที่ต้องไม่เกิน 70 ปี
5. อัตราดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ย หมายถึง อัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกเป็นร้อยละต่อปีที่จะต้องจ่ายให้ธนาคาร ซึ่งแต่ละธนาคารก็ให้อัตราดอกเบี้ยกับลูกค้าแต่ละคนไม่เท่ากัน แต่ถ้าไม่ทราบ ก็สามารถใช้ค่าเฉลี่ยโดยทั่วไปที่ 5% ต่อปี หรือใช้อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านที่อัปเดตล่าสุดของธนาคาร
6. เปอร์เซ็นต์วงเงินกู้สูงสุดของรายได้
เปอร์เซ็นต์วงเงินกู้สูงสุดของรายได้ หมายถึง สัดส่วนความสามารถในการผ่อนบ้านจากรายได้ที่มี โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น 70% ของเงินเดือน 35,000 บาทต่อเดือน ก็หมายความว่าผ่อนบ้านได้สูงสุด 24,500 บาทต่อเดือน SALE VILLA
7. ภาระหนี้สินต่อเดือน
ภาระหนี้สินต่อเดือน หมายถึง หนี้สินต่าง ๆ ที่กำลังอยู่ในระหว่างการผ่อนชำระทุกเดือน เช่น การผ่อนรถ ผ่อนสินค้าในบัตรเครดิต ผ่อนสินเชื่อส่วนบุคคล และการผ่อนชำระหนี้สินอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ความสามารถในการผ่อนบ้านลดลง
คำนวณวงเงินกู้บ้านสูงสุด
เครื่องมือคำนวณสินเชื่อบ้านหัวข้อนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทราบตัวเลขในเบื้องต้นว่า รายได้ของตัวเองจะคำนวณวงเงินสินเชื่อบ้านได้เท่าไร และคำนวณค่าผ่อนบ้านสูงสุดที่จะผ่อนได้เดือนละเท่าไร
เครื่องมือคำนวณวงเงินกู้ : เรียกใช้เครื่องมือคำนวณวงเงินกู้บ้านสูงสุด
วิธีใช้เครื่องมือ : เพียงกรอกรายได้รวมต่อปี เลือกระยะเวลากู้ กรอกอัตราดอกเบี้ยต่อปี กรอกเปอร์เซ็นต์วงเงินกู้สูงสุดของรายได้ และกรอกภาระหนี้สินต่อเดือน จากนั้นกดคำนวณ
ผลลัพธ์ที่ได้ ค่างวดที่สามารถชำระได้สูงสุดต่อเดือน และวงเงินกู้สูงสุดที่จะได้รับ
คำนวณค่าผ่อนบ้านต่อเดือน
เครื่องมือคำนวณสินเชื่อบ้านหัวข้อนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ทราบวงเงินกู้ที่ต้องการขอสินเชื่อจากธนาคารแล้ว และต้องการทราบว่าวงเงินกู้ที่จะขอนั้น ต้องผ่อนเดือนละเท่าไร RENT AND BUY VILLA PHUKET
เครื่องมือคำนวณยอดผ่อนต่อเดือน : เรียกใช้เครื่องมือคำนวณค่าผ่อนบ้านต่อเดือน
วิธีใช้เครื่องมือ เพียงกรอกจำนวนเงินที่ต้องการกู้ กรอกอัตราดอกเบี้ยต่อปี และเลือกระยะเวลากู้ จากนั้นกดคำนวณ
ผลลัพธ์ที่ได้ ยอดผ่อนชำระต่อเดือน พร้อมตารางแสดงการผ่อนชำระ และสามารถดาวน์โหลดไฟล์ Excel แบบ CSV ได้
คำนวณเงินผ่อนตามระยะเวลากู้บ้าน
เครื่องมือคำนวณสินเชื่อบ้านหัวข้อนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีราคาบ้านหรือวงเงินกู้ในใจพร้อมอัตราดอกเบี้ยแล้ว แต่ต้องการทราบว่าต้องผ่อนเดือนละเท่าไร และถ้าดอกเบี้ยต่ำลงหรือสูงขึ้น ค่าผ่อนบ้านต่อเดือนจะกลายเป็นเท่าไร
เครื่องมือคำนวณยอดผ่อนชำระตามระยะเวลากู้ : เรียกใช้เครื่องมือคำนวณเงินผ่อนตามระยะเวลากู้บ้าน
วิธีใช้เครื่องมือ เพียงกรอกวงเงินกู้และเลือกอัตราดอกเบี้ย จากนั้นกดคำนวณ บ้านเดี่ยว
ผลลัพธ์ที่ได้ ตารางผ่อนบ้านจะแสดงการผ่อนชำระต่อเดือน แบ่งตามระยะเวลากู้ตั้งแต่ 10-35 ปี และอัตราดอกเบี้ยที่เลือก พร้อมเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยที่สูงหรือต่ำกว่าที่เลือกให้อีกด้วย
เพียงใช้เครื่องมือคำนวณสินเชื่อบ้านเหล่านี้ การวางแผนกู้บ้านก็จะกลายเป็นเรื่องง่าย เพราะผู้กู้ได้ประเมินตัวเองจากคำนวณสินเชื่อบ้าน เพื่อเลือกซื้อบ้านให้เหมาะสมกับความสามารถในการผ่อนของตัวเองแล้ว
การจะซื้อบ้านสักหลัง ต้องผ่านขั้นตอนมากมาย หากใครที่มีกำลังทรัพย์ สามารถจ่ายสดได้เลยก็ดีไป ไม่ต้องกู้หนี้ยืมสินจากธนาคาร แต่ไม่ใช่ทุกคนจะมีเงินเย็นในจำนวนมาก ๆ กับตัว คนส่วนใหญ่จึงมักทำเรื่องขอสินเชื่อบ้านกับธนาคารต่าง ๆ และยอมจ่าย “ดอกเบี้ยบ้าน” ในอัตราที่แตกต่างกันไป
เครื่องมือเหล่านี้ยังใช้ได้ทั้งการขอสินเชื่อบ้านใหม่ บ้านมือสอง รีไฟแนนซ์ หรือแม้แต่บ้านแลกเงิน ซึ่งใช้หลักการเดียวกันในการคำนวณสินเชื่อบ้าน โดยจะแสดงตารางผ่อนบ้านตามหัวข้อต่าง ๆ ออกมา จึงกล่าวได้เลยว่าเครื่องมือเหล่านี้สารพัดประโยชน์ และควรค่าแต่การเก็บไว้ใช้จริง ๆ
อีกทั้งต้องใช้ระยะเวลาผ่อนอยู่หลายสิบปีด้วย ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะให้ความสนใจกับเรื่อง “เงินต้น” จนลืมนึกถึงเรื่อง “ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย” ดังนั้น เมื่อตัดสินใจขอเงินกู้ เรื่องดอกเบี้ยจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม วันนี้มาแนะนำวิธีคิดคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้บ้านแบบง่าย ๆ กัน วิธีการคำนวณดอกเบี้ย
จะกำหนดให้ผู้กู้ชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย โดยจะคิดดอกเบี้ยเงินกู้แบบลดต้นลดดอก และคิดดอกเบี้ยเงินกู้ทุกวัน หมายความว่า จำนวนเงินที่ต้องจ่ายในแต่ละงวด แบบบ้าน ประกอบไปด้วยดอกเบี้ยตามอัตราที่ธนาคารกำหนด รวมกับจำนวนเงินต้นที่คงเหลือ ซึ่งธนาคารจะนำเงินต้นที่เหลืออยู่มาเป็นฐานเพื่อคำนวณดอกเบี้ย ดังนั้น ยิ่งเงินต้นเหลือมากเท่าไหร่ ดอกเบี้ยในงวดถัดไปก็จะยิ่งสูงขึ้นมากเท่านั้น ตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ย

เดือน = 1,000,000 x 7.0% x 30 ÷ 365 = 5,753.42 บาท ยอดเงินสิ้นงวด = 1,000,000 + 5,753.42= 1,005,753.42 บาท หักค่างวดรายเดือน 10,000 บาท ดังนั้น คงเหลือยอดเงินต้น = 1,005,753.42–10,000 = 995,753.42 บาท ยอดเงินต้นคงเหลือ = 995,753.42 ดอกเบี้ย = 5,753.42
งวดที่ 2: ดอกเบี้ย/เดือน = 995,753.42x 7.0% x 30 ÷ 365 = 5,729 บาท ยอดเงินสิ้นงวด = 995,753.42 + 5,729 = 1,001,482.42 บาท หักค่างวดรายเดือน 10,000 บาท ดังนั้น คงเหลือยอดเงินต้น = 1,001,482.42–10,000 = 991,482.42 บาท ยอดเงินต้นคงเหลือ = 991,482.42 ดอกเบี้ย = 5,729
งวดที่ 3: ดอกเบี้ย/เดือน = 991,482.42x 7.0% x 30 ÷ 365 = 5,244.14 บาท ยอดเงินสิ้นงวด = 991,482.42 + 5,244.14 = 996,726.56 บาท หักค่างวดรายเดือน 10,000 บาท ดังนั้น คงเหลือยอดเงินต้น = 996,726.56–10,000 = 986,726.56บาท ยอดเงินต้นคงเหลือ = 986,726.56 ดอกเบี้ย = 5,244.14
จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า ดอกเบี้ยในแต่ละงวดจะลดลงไปเรื่อย ๆ เนื่องจากฐานเงินต้นที่นำมาคำนวณลดลง ดังนั้น หากใครที่มีกำลังพอ ก็สามารถกำหนดค่างวดที่จะชำระให้สูงกว่าขั้นต่ำได้ ซึ่งจะยิ่งทำให้ภาระการผ่อนชำระหมดไวขึ้น ทั้งนี้ การตัดสินใจจะตั้งค่างวดรายเดือนสูงหรือต่ำ ควรพิจารณาจากฐานรายได้เป็นหลัก ซึ่งผู้กู้ควรมีรายได้อย่างน้อย 2 – 2.5 เท่าของค่างวดต่อเดือน นอกจากนี้ หากใครสามารถเก็บออมเงินจำนวนหนึ่งได้มากพอ หรือช่วงสิ้นปีได้รับโบนัส จะนำมารวมแล้วโปะสมทบเงินต้นก็ได้เช่นกัน วิธีนี้จะช่วยลดยอดเงินต้นลง ทำให้ภาระการผ่อนสั้นลงไปด้วย
ซึ่งภาระการผ่อนชำระเงินกู้จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารด้วย แนะนำให้ลองเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย สินเชื่อบ้าน ของแต่ละธนาคารดู สมัยนี้ หลาย ๆ ธนาคารก็มีโปรโมชันอัตราดอกเบี้ยอยู่ ทางที่ดี ควรศึกษาเงื่อนไข และ ข้อตกลงของสินเชื่อนั้น ๆ ให้เข้าใจก่อนตัดสินใจลงทุน
สนใจ : ธอส ดอกเบี้ยบ้าน